ประวัติโรงเรียน
|
 |
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ถนนแกล้วประดิษฐ์ ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน14 ไร่ 1 งาน 35ตารางวาเปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2514 โดยเปิดเป็นสาขาของโรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนแกล้วประดิษฐ์เป็นที่ทำการสอนชั่วคราว ( ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบันนี้ ) โดยมีนายสุนทร หงษา เป็นผู้สอน
อาณาเขต
โรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านหมู่ที่1ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ใกล้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล ไหลมาบรรจบกัน เรียกว่า แม่น้ำสองสี
ที่ตั้ง
อำเภอโขงเจียม ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งที่ 15.3 องศาเหนือ เส้นแวงที่ 105.5 องศาตะวันออก ตามลักษณะดังกล่าว จึงนับได้ว่าอำเภอโขงเจียมเป็นดินแดนตะวันออกสุดของประเทศไทย ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้ให้การรับรองว่าเป็นจุดที่มองเห็นพระอาทิตย์ก่อนภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย จนมีคำกล่าวว่า “ตะวันออกสุดของประเทศไทย เห็นตะวันก่อนใครในสยาม” และเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี 80 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออก สามารถเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานี 4 เส้นทาง คือ
-
ถนนสายอุบลราชธานี – ตระการพืชผล – พิบูลมังสาหาร – โขงเจียม ระยะทาง 79 กิโลเมตร (ถนน รพช. และทางหลวงหมายเลข 2222)
-
ถนนสายอุบลราชธานี – ตระการพืชผล – ศรีเมืองใหม่ – โขงเจียม ระยะทาง 104 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 2025 , 2134)
-
ถนนสายอุบลราชธานี – สว่างวีรวงศ์ – พิบูลมังสาหาร – โขงเจียม ระยะทาง 80 กิโลเมตร(ทางหลวงหมายเลข 217 , 2222 ,2314)
-
ถนนสายอุบลราชธานี – วารินชำราบ – สว่างวีรวงศ์ – พิบูลมังสาหาร – สิรินธร -โขงเจียม ระยะทาง 94 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 217,2173)
อำเภอโขงเจียมมีพื้นที่ทั้งหมด 594 กิโลเมตร หรือ 371,250 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
-
ทิศเหนือจดอำเภอศรีเมืองใหม่
-
ทิศใต้จดอำเภอสิรินธรและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
-
ทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
-
ทิศตะวันตกจดอำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอพิบูลมังสาหาร
พ.ศ. 2516
กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก ขนาด 16 ห้องเรียน บ้านพักครู 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง และส้วมนักเรียน 1 หลัง แต่ไม่มีผู้ประมูลก่อสร้างจึงต้องคืนเงินคลังแผ่นดินต่อมา วันที่ 24 สิงหาคม 2515 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายพงษ์ศักดิ์ คูณเรือง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. 2517
ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง
พ.ศ. 2518
ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง และส้วม 1 หลัง
พ.ศ. 2519
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวแบบ 044 จำนวน 7 ห้องเรียน ( ต่อมาได้รับการอนุมัติให้รื้อถอนเพื่อสร้างโรงฝึกงานอุตสาหกรรม และคหกรรมของโครงการ มพช02 รุ่น 4 ในปี พ.ศ. 2529 )
พ.ศ. 2520
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก ขนาด 16 ห้องเรียน 1 หลัง
พ.ศ. 2524
ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมนักเรียน1 หลัง12 พฤศจิกายน 2524 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายสว่าง เย็นใจ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2526
ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง
พ.ศ. 2529
โรงเรียนเข้าโครงการ มพช.2 รุ่น 4 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร ซี เอส206 เอ 1 หลัง ก่อสร้างประปา ติดตั้งไฟฟ้าแรงสูงและถังเก็บน้ำฝน ( ฝ. 33) จำนวน 4 ถัง
18 ตุลาคม 2531
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายยง เลือกนารี มาดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
7 ธันวาคม 2536
โรงเรียนเข้าโครงการรพส.รุ่นที่ 32 โครงการปชด. และอนุมัติให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. 2537
ได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามบาสเกตบอลแบบ FIBA จำนวน 1 สนาม
30 พฤษภาคม 2539
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายสุเทพ ไชยชนะ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปีการศึกษา 2539
โรงเรียนจัดเข้าโครงการปฏิรูปการศึกษา ได้รับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างจำนวน 1,000,000 บาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 200 เมตร โครงการจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และโครงการถมดินในพื้นที่ลุ่ม
ปีการศึกษา 2540
ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการทางภาษา ในวงเงิน 1,650,000 บาท และโรงเรียนได้รับหนังสืออนุญาตให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างอาคาร 5 รายการ คือ
-
บ้านพักนักเรียนชาย 2 หลัง
-
ห้องน้ำห้องส้วม 2 หลัง
-
อาคารชั่วคราว 1 หลัง
พ.ศ. 2540
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชมรมผู้ปกครองและครู ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม จัดทำรั้วบริเวณหน้าโรงเรียนแบบเสาคอนกรีต ประกอบรั้วท่อแอส เบส ดอส พร้อมซุ้มประตูและตัวหนังสือ ป้ายชื่อโรงเรียน สิ้นค่าก่อสร้าง 150,000 บาท
ธันวาคม 2540
กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติกำหนดตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนจาก ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการ โดยมี นายสุเทพ ไชยชนะ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน
12 มีนาคม 2542
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายศรีสมบัติ ภูมิเขียว ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9โรงเรียนเสนางคนิคม มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม
พ.ศ. 2542
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารหอประชุมโรงอาหาร แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
22 มกราคม พ.ศ. 2546
นายเกษมสันต์ มณีภาค ผู้อำนวยการโรงเรียนนาวังวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม
พ.ศ. 2547
ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
พ.ศ. 2548
ผ่านการประเมินภายนอก สมศ. รอบ 2 ระดับ ดี
พ.ศ. 2549
ได้รับการตรวจประเมินโรงเรียนในฝัน ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน
พ.ศ. 2550
ได้รับคัดเลือกการกระจายอำนาจทางการศึกษา ประเภทที่ 1
ได้รับเงินบริจาค จากนางสมพิศ เหวียนระวี (ไสยสมบัติ) เพื่อก่อสร้างเสาธงชาติ รวมมูลค่าการก่อสร้างเป็นเงิน 203,099 บาท
พ.ศ. 2552
ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคาร 108 ล/ 30 จำนวน 1 หลัง
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
นายชาคริต พิมพ์หล่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม
พ.ศ. 2554
ได้รับการรับรองผ่านการประเมินภายนอก สมศ. รอบ 3 ระดับ ดี
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากท่าน ส.ส.ชูวิทย์ (กุ่ย) พิทักษ์พรพัลลภจำนวน 16 ล้านบาท โดยมี นายชาคริต พิมพ์หล่อ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
22 ธันวาคม พ.ศ. 2562
นายถนอม หลุมทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนพะลานวิทยาคม อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานีมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม
ที่ตั้งปัจจุบัน หมู่ 1ถนนแกล้วประดิษฐ์ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี34220
ขนาดสถานศึกษา ขนาดกลาง
จำนวนพื้นที่ 14 ไร่1งาน35 ตารางวา
ระดับชั้นที่เปิดสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
|